เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีวาทะว่า
เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
บัญญัติด้วยวัตถุ 4 นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้
นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด และรู้ชัดยิ่งไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทของตนเอง รู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้
รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.

จบภาณวารที่หนึ่ง

เอกัจจสัสสตทิฏฐิ 4


(31) 5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง

เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ 4. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น
อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ด้วยวัตถุ 4.
5.1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมีสมัยที่โลกนี้พินาศ
โดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์โดยมากย่อมเกิดใน
ชั้นอาภัสสรพรหม. สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มี
รัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพ
นั้นตลอดกาลช้านาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมีสมัยที่
โลกนี้กลับเจริญโดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ ปรากฏว่าวิมาน
พรหมว่างเปล่า. ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม
เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า. แม้
สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปใน
อากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน.
เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในภพนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน
ดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง.
ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือ
เพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงพรหมวิมาน อันเป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น.
แม้สัตว์เหล่านั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง
เที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้น
ตลอดกาลช้านาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์
ที่เกิดก่อนมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็น
ใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็น

ผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ
เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เราเนรมิตขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะเราได้มีความคิดอย่างนี้มาก่อนว่า โอหนอ
แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง. ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้
และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว.
แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
นี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้
เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกำลัง
เป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญองค์นี้เนรมิตแล้ว. ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะพวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญองค์นี้ เกิดในที่นี้ก่อน
ส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เกิดก่อน มีอายุ
ยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลังมี
อายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง จุติจากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัย
ความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึก
ไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดแลเป็นพรหมผู้เจริญ เป็นมหาพรหม

เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็น
ผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ
เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดเนรมิต
พวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่
แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วน
พวกเราที่พระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยังยืน มีอายุ
น้อย มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาจึงมาเป็นอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ 1 ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
วาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบาง
อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(32) 5.2 อนึ่ง ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้น
พากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกิน
เวลา. เมื่อเทวดาพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือ การ
สรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงจุติจาก
หมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติ
จากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วอาศัยความ
เพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล

ก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวก
เทวดาผู้มีใช่เหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ไม่หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือ
การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา. เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่พากัน
หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา
ก็ไม่หลงลืมสติ. เพราะไม่หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่
นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จัก
ตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราได้เป็นขิฑฑาปโทสิกะ
หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา.
เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการ
เล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ. เพราะหลงลืมสติ พวกเราจึงจุติจาก
หมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีจุติเป็นธรรมดา ต้องมา
เป็นอย่างนี้ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 2 ที่สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่
เที่ยง.
(33) 5.3 อนึ่ง ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะ. เทวดาพวก
นั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต. เมื่อเทวดาพวกนั้นเพ่งโทษกัน
และกันเกินขอบเขต ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและ
กัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากหมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึง
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ไม่เพ่งโทษกันและ
กันเกินขอบเขต. เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่เพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต
ย่อมไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงไม่ลำบาก
กายไม่ลำบากใจ. เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน
คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้น
ทีเดียว. ส่วนพวกเราได้เป็นเหล่ามโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกัน
เกินขอบเขต. เมื่อพวกเรานั้นพากันเพ่งโทษกันเกินขอบเขต . ย่อมคิด
มุ่งร้ายกันและกัน เมื่อพวกเราต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกาย
ลำบากใจ. พวกเราจุติจากหมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย
มีจุติเป็นธรรมดา ต้องมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นฐานะที่ 3 ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
วาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(34) 8.4 อนึ่ง ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงบัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
นักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่
ตรองได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้
ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา. ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา
เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้ง
อยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 4
ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะ ว่าบางอย่าง
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บาง
อย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ 4 นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบาง
อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
บัญญัติด้วยวัตถุ 4 นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้
นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อ
ไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตนเอง รู้ความเกิด ความดับ

คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา
เหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อันให้รู้แจ้ง
อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


อันตานันติกทิฏฐิ 4


(35) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วย
วัตถุ 4.
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีสุด ด้วย
วัตถุ 4.
9.1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บาง
พวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลก
ว่ามีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ข้อนั้น
เพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น จึงมี